การตรวจการนอนหลับ (Sleep Lab) เพื่อแยกว่าเป็นนอนกรนประเภทใดและสามารถบอกความรุนแรงของโรคได้ว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับมากหรือน้อยเพียงใด เพื่อช่วยให้แพทย์วางแผนการรักษาได้ดีขึ้น
ใครบ้างควรตรวจ Sleep Lab
- ในผู้ใหญ่ Sleep Lab ควรตรวจเมื่อเกิดอาการ
- ตื่นนอนตอนเช้าด้วยความอ่อนล้าไม่สดชื่น
- ปวดมึนศีรษะต้องการนอนต่ออีกเป็นประจำ
- รู้สึกว่านอนหลับไม่เต็มอิ่ม มีความรู้สึกเหมือนว่าไม่ได้หลับนอนมาทั้งคืน ทั้ง ๆ ที่ได้นอนพักผ่อนอย่างเต็มที่แล้ว หงุดหงิด อารมณ์เสียง่าย
- ง่วงนอนในเวลาทำงานกลางวันจนไม่สามารถจะทำงานต่อได้หรือมีอาการเผลอหลับในขณะทำงาน ขณะขับรถ ในห้องเรียน ในที่ประชุม ขณะอ่านหนังสือ ดูภาพยนตร์ หรือดูโทรทัศน์
- นอนหลับไม่ราบรื่น นอนกระสับกระส่ายมาก
- หายใจขัดหรือหายใจไม่สะดวกขณะนอนหลับ อาจมีอาการคล้ายสำลักน้ำลาย
- สะดุ้งผวาหรือหายใจแรงเหมือนขาดอากาศหลังจากหยุดหายใจ
- ความดันโลหิตสูง ซึ่งยังหาสาเหตุได้ไม่ชัดเจน
- ประสิทธิภาพในการทำงานหรือผลการเรียนแย่ลง เพราะอาการง่วง ขาดสมาธิ พัฒนาการทางสมอง สติปัญญา และความจำแย่ลง
- ตื่นนอนกลางดึกโดยไม่ทราบสาเหตุหรือปัสสาวะกลางดึกโดยไม่ทราบสาเหตุอื่น
- ในเด็ก Sleep Lab ควรตรวจเมื่อเกิดอาการ
- เด็กที่มีท่านอนที่ผิดปกติ เช่น ชอบนอนตะแคง หรือนอนคว่ำ
- เด็กที่ไม่มีสมาธิทำอย่างใดอย่างหนึ่งได้นาน (attention deficit disorder) หงุดหงิดง่าย หรือมีกิจกรรมต่าง ๆ ทำตลอดเวลา
- เด็กที่ปัสสาวะราดในเวลากลางคืน
- เด็กที่ผลการเรียนแย่ลง เพราะอาการง่วง ขาดสมาธิ พัฒนาการทางสมอง และสติปัญญา และความจำแย่ลง
- เด็กอายุขวบปีแรกที่สงสัยว่าเวลานอนหลับอาจมีช่วงหยุดหายใจ มีความผิดปกติของช่องปาก จมูก ลำคอ
- เด็กที่มีอาการนอนกรนหรือหายใจลำบากเวลานอน ด้วยสาเหตุต่าง ๆ อาทิ ต่อมทอนซิล – อะดีนอยด์โต หลอดลมตีบแคบเนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ
สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2310 3000 หรือ โทร. 1719 Email: info@bangkokhospital.com